ถอดบทเรียนการทำโปรเจค Decentralized Finance

RobinhoodSwap Finance
2 min readOct 1, 2021

ปลายเดือนเมษายน 2021
หลังจากที่ผมได้เรียนรู้การเทรดคริปโตในโลก DeFi มาสักระยะ จากการ farm ทั้งโปรเจคเล็กและโปรเจคใหญ่ ผมได้เกิดไอเดียและความตั้งใจที่จะทำโปรเจค DeFi สำหรับงานการกุศลที่ผมทำอยู่แล้วประจำ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น.. การสอนหนังสือ การสร้างห้องสมุด การบริจาค และการเป็นอาสาสมัครในงานต่างๆ โดยผมต้องการที่จะสร้าง blockchain product ที่อาศัยประโยชน์ของเทคโนโลยี blockchain ไม่ว่าจะเป็นการ decentralized (feature ของการโหวตโปรเจคการกุศลที่ทุกคนสามารถร่วมโหวตได้), transparency (การติดตามยอดการใช้เงินขององค์กรการกุศลต่างๆ), open-platform (เปิดให้ user มีสิทธิที่เท่าเทียมกันในการดำเนินการ) และ อื่นๆ

ผมได้ใช้เงินทุนส่วนตัวหลายแสนบาทและ pitch โปรเจคเพื่อระดมทุนจากรุ่นพี่หลายคนรวมเป็นเงินหลักล้านในการจ้างโปรแกรมเมอร์จากในไทยและเทศ จ้างทีมการตลาด และ ทีม admin สำหรับการทำ operation ต่างๆ

ในวันที่ 11 มิถุนายน 2021
โปรเจค RobinhoodSwap ก็ได้ทำการเปิดตัวผ่านระบบ AMM (automated market maker) และมีระบบการนำเหรียญมา Farm ซึ่งแน่นอนว่าเป็นประสบการณ์ที่ใหม่มากๆ เพราะผมเองไม่ได้มี background ในด้านการเงินเป็นหลัก แต่ด้วยความช่วยเหลือและจากการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหลายๆ คน ทำให้ผมและทีมสามารถออกแบบ tokenomics ออกมาเพื่อให้กลไกในการดำเนินโครงการในระยะยาวได้ (ซึ่งออกแบบมาได้ดีหรือไม่ดีก็ไม่รู้ เนื่องจากยังมีข้อมูลน้อยมากๆ ในโลก DeFi)
เราอาศัยกลไกนี้และแบ่งเปอร์เซ็นต์ออกมาทำโปรเจคการกุศล ซึ่งในช่วงนี้เป็นช่วง peak ของการติดเชื้อโควิดในประเทศไทย โดยเราได้บริจาคอาหารไปมากกว่า 8,000 มื้อ รวมถึงอุปกรณ์ด้านความสะอาดต่างๆ ให้กับคนไร้บ้าน ชุมชนแออัด และ บริจาคเงินส่วนหนึ่งเป็นทุนการศึกษาให้น้องๆ มากกว่า 50 คน

เวลาผ่านไป 3 เดือนอย่างรวดเร็ว โดยมีสิ่งที่เกิดขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็น
- Recruit ทีมงาน admin สำหรับการบริหาร community
- การทำงานร่วมกับ agency ต่างชาติในการทำตลาด
- List เหรียญบน platform ต่างๆ
- พัฒนาและเชื่อมต่อระบบต่างๆ บน telegram
- Audit smart contract และระบบ
- ทำ partnetship กับองค์กรการกุศลต่างๆ
- เร่งทำงาน ไม่มีวันหยุด เพื่อพัฒนา product feature และเกลาไอเดียกับทีม developer เพราะเรารู้ดีว่า เราต้องแข่งกับเวลา
- Etc. และ research รวมถึงคุยกับคนมากมายในการพัฒนาโปรเจค DeFi
ซึ่งทั้งหมดใช้เวลาและเงินทุนมหาศาล เนื่องจากเป็นสิ่งที่ใหม่มากจริงๆ ทั้งสำหรับโลกนี้และสำหรับทีม

ถึงเราจะเร่งพัฒนากันอย่างหนัก หลังจาก 3 เดือนที่ผ่านมา
ผมและทีมงานได้หารือ และเห็นตรงกันว่า เราไม่สามารถพา RobinhoodSwap ไปถึงดวงจันทร์ได้อย่างที่ตั้งใจไว้
ด้วยเหตุผลหลักคือ ข้อจำกัดทางการเงิน เวลา และความเชี่ยวชาญของทีม ผมจึงขอประกาศยุติโปรเจคแต่เพียงเท่านี้ โดยที่โครงการด้านการกุศลต่างๆ ที่ตัวผมได้ทำมาตลอดนั้น ผมก็ยังจะทำอยู่ต่อไป อย่างที่ได้ทำมาเสมอ

ผมขอถอดบทเรียนและส่งต่อองค์ความรู้ที่ผมได้รับในช่วงสั้นๆ นี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับใครก็ตามที่ต้องการทำโปรเจค DeFi ออกมาครับ

โลกยังไม่พร้อมสำหรับ CryptoCurrency
เมื่อผู้ที่ใช้ cryptocurrency ยังไม่มากพอ จึงเกิดเป็น operation มหาศาลสำหรับการแปลง cryptocurrency เป็น fiat ในการใช้งานบนโลกของความเป็นจริง ปัญหาข้อนี้เกิดจากทีมของเราที่ต้องการบริจาคเงินให้กับองค์กรต่างๆ แต่สามารถทำได้ยากเนื่องจากองค์กรเหล่านั้นไม่รับเงินเป็น cryptocurrency แต่จะรับเป็นเงินบาทเท่านั้นทำให้เกิดคอขวดในด้าน operation เมื่อเราต้องหาทางทำ P2P เพื่อแปลงเงิน cryptocurrency ให้เป็นเงินบาทผ่านทาง centralized platform ต่างๆ
คำนิยามของคำว่าโลกพร้อมเป็นยังไง?
ผมคิดว่ามันคงเป็นวันที่คนมากกว่า 50% มี crypto-wallet และพร้อมใช้ cryptocurrency ในการ รับ-จ่าย-แลกเปลี่ยนกัน (ณ Sep2021 ผมคิดว่าคนที่อยู่ในโลก DeFi ยังเป็นสัดส่วนต่ำกว่า 3% ของโลกอย่างแน่นอน)

Project Financing ที่แตกต่าง
ผมมีความคุ้นเคยกับการทำธุรกิจและทำโปรเจคต่างๆ ภายใต้งบประมาณที่แน่นอนเพื่อกำหนดขอบเขตของการทำงานให้ชัดเจน แต่การทำโปรเจค DeFi ที่เราอาศัย “% สัดส่วน” ของเหรียญที่ถูกปล่อยออกมา ซึ่งก็ต้องนำไปขายบน AMM เพื่อเปลี่ยนเป็น stable coin ไปแปลงเป็น Fiat อีกรอบมาจ่ายทีมงาน และแน่นอนว่าเป็นการทำให้ token price ลดลงต่อเนื่อง (ส่งผลลบกับ market sentiment ทุกครั้ง) แต่ดันเป็น action ที่สำคัญที่เราต้องทำเพื่อให้สามารถจ่ายเงินให้กับทีมงานที่เราจ้างมาได้ ซึ่งเป็นอะไรที่ย้อนแย้งมากๆ (เราต้องขายเหรียญออกเรื่อยๆ)

การตั้งชื่อและผลทางกฏหมาย
ในตอนแรกนั้นผมและทีมไม่ได้คิดอะไรมากเพียงแค่ว่าต้องการทำโปรเจค DeFi ที่มี product ที่ดีและมีระบบที่ยั่งยืนโดยรายได้ส่วนหนึ่งถูกส่งต่อไปทำโปรเจคการกุศลจึงได้ตั้งชื่อว่า “Robinhood” โดยลืมนึกไปถึงมุมที่ Robinhood เป็นโจรที่ปล้นคนรวยที่ไม่ดีมาช่วยคนจน ซึ่งอาจจะ sensitive กับโลกการเงินโดยเฉพาะเรื่องของ DeFi
อีกทั้งทางเรายังได้รับจดหมายให้หยุดดำเนินการจากทางบริษัทใหญ่ด้านการเงินการลงทุน ทำให้เกิดประเด็นทางกฏหมายมากมายตามมา (เนื่องจากเรา operate ในอุตสาหกรรมการเงินด้วย)

เราได้ทำทุกทางที่เราจะทำได้เพื่อให้โปรเจคสำเร็จ แต่ก็มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น
- Proposal สำหรับการทำ IDO บน platform ต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม และได้รับการปฏิเสธเรื่อยมาจนถึงสิ้นเดือนกันยายน
- เร่งทำ smart contract และ ระบบให้เสร็จในส่วนของ NFT Marketplace (แต่เราไปไม่ถึงฝั่งฝันเนื่องจาก technical difficulty หลายอย่างที่เราแก้ไขไม่ได้)
- ถูกกดดันจากทีมกฏหมายในด้านของ trademark ให้ยุติโครงการโดยทันที
- งบประมาณที่เตรียมเอาไว้หมดไป

ส่งท้าย

สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณทีมงาน ที่ได้ร่วมงานกันมาอย่างหนักในระยะเวลาสั้นๆ เพียง 4 เดือน (June — September) ไม่ว่าจะเป็นทีม Adminไทย และ ต่างประเทศ, ทีม Marketing ทั้ง graphics designer และ agency สำหรับ twitter และ facebook, ทีม developers ที่ร่วมงานกันจนดึกดื่น

และที่สำคัญที่สุด คือ ผู้สนับสนุนทุกๆ คนที่เชื่อในตัวผม และติดตามโปรเจคเพื่อการกุศลนี้

แม้ว่า RobinhoodSwap จะไม่ได้จบลงตามที่ทุกคน (รวมถึงตัวผม) คาดหวังไว้ อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่านี่เป็นบทเรียนสำคัญอันหนึ่ง และผมจะยังคงตั้งใจทำโครงการเพื่อสังคมต่อไป อย่างที่ผมได้ทำมาตลอด

แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้าครับ
โจแซ่ด ชัชนาท

--

--

RobinhoodSwap Finance

RobinHoodSwap Finance is to allow users to utilize blockchain and DeFi to earn rewards while contributing to society by giving back to charitable organizations.